Cooking, TIPS & TRICK
เรื่องเล่าของขนม: ข้าวหมกไก่
วันหยุดยาวก็ใกล้เข้ามาแล้ว นั่นคือ💦เทศกาลวันสงกรานต์ หรือเรียกกันว่า 🥳วันปีใหม่ของไทยเรานั่นเอง บางท่านก็จะกลับบ้านไปขอพร🙏🙏 รดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่👵👴🧓👩🦳 เรียกได้ว่าเป็นวันรวมญาติก็ว่าได้ ก่อนวันหยุดยาวแบบนี้เราก็ต้องหาเมนูพิเศษมาทำกันก่อน วันรวมญาติแบบนี้คงต้องเป็นเมนูที่ทำแล้วสามารถทานกันได้ทั้งครอบครัวไม่ว่าจะเป็นเด็ก👶 ผู้ใหญ่👩🦱ไปจนถึงผู้สูงอายุ👨🦳 ดังนั้นเมนูที่จะนำเสนอก็คือ ✨เมนูข้าวหมกไก่✨ ซึ่งมีเครื่องเทศ และสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ เราเคยทำเมนูข้าวมันไก่กันมาแล้ววันนี้เรามาทำข้าวหมกไก่กัน ก่อนจะทำเรามาดูความเป็นมาของเมนูข้าวหมกไก่กันก่อนค่ะว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร
“ข้าวหมกไก่” เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งในตะวันออกกลาง รวมทั้งชาวมุสลิมในประเทศต่างๆ ต้นกำเนิดของข้าวหมกมาจากอินเดียซึ่งรับวัฒนธรรมการปรุงข้าวหมกไปจากเปอร์เซียได้พัฒนามาเป็น บิรยานี เมื่อชาวอินเดียและเปอร์เซียมาติดต่อค้าขายกับประเทศไทย ได้นำข้าวหมกไก่มาเผยแพร่ด้วย ข้าวหมกไก่เป็นอาหารจานเดียวที่ประกอบไปด้วยเครื่องเทศนานาชนิด กลิ่นหอมกรุ่น ถึงแม้ข้าวหมกไก่ไม่ใช่อาหารจานเดียวสัญชาติไทยแท้ๆ ก็ตาม แต่ผสมกลมกลืนจนกลายเป็นอาหารไทยที่ได้รับความนิยมกันมาก โดยที่ปักษ์ใต้มีการทำขายทั่วไป ในข้าวหมกไก่ก็จะประกอบไปด้วยเครื่องเทศ เครื่องเทศคือส่วนต่างๆ ของพืช เช่น เมล็ด เปลือก เมล็ด ผล ผิวนอกของผล ใบ🍃 ราก ลำต้น ฯลฯ ที่ทำให้แห้ง แล้วนำมาเป็นเครื่องปรุงในอาหาร เพื่อให้ได้รสชาติ สีสัน กลิ่น หรือคุณสมบัติอื่นๆ ที่ต้องการ เครื่องเทศที่ผู้คนทั่วโลกรู้จักเป็นสากล เช่น กระวาน กานพลู จันทร์เทศ ดีปลี ยี่หร่า หญ้าฝรั่น พริกไทย และ อบเชย เป็นสิ่งมีใช้กันมานานนับพันปีค่ะ
Cooking, TIPS & TRICK
เรื่องเล่าของขนม: ขนมเค้ก (Cake)
วันนี้เราจะพูดถึงขนมที่อยู่ในหมวดเบเกอรี่ค่ะ ประเภทขนมเค้ก (cake) 😋
เค้กเป็นขนมชนิดหนึ่งที่มักจะมีรสหวาน และผ่านกระบวนการอบ ซึ่งจะทำมาจากแป้ง น้ำตาล และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ไข่ ผัก และผลไม้ที่ให้รสหวานหรือเปรี้ยว หรือส่วนประกอบที่มีไขมัน เช่น เนย ชีส ยีสต์ นม เป็นต้น และนิยมรับประทานเป็นของหวาน และฉลองในเทศกาลต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเกิดและวันแต่งงาน ซึ่งในปัจจุบันมีตำหรับหรือสูตรการทำเค้กเป็นจำนวนล้านๆ สูตร ขนมเค้กมีหลากหลายชนิด อาทิ ชีสเค้ก ฟรุตเค้ก แพนเค้ก เค้กเนยสด และแยมโรล ขนมเค้ก มีรากศัพท์มาจากภาษาของชาวไวกิ้ง (Old Norse word) มาจากคำว่า “kaka” ประวัติเริ่มจากปี ค.ศ. 1843 นักเคมีชาวอังกฤษชื่อ อัลเฟรดเบิร์ด ได้ค้นพบ “ผงฟู” (baking powder) ขึ้น ทำให้เขาสามารถทำขนมปังชนิดที่ไม่มียีสต์ได้เป็นครั้งแรก ทั้งนี้เนื่องมาจากภรรยาของเขา (Elizabeth) เป็นโรคภูมิแพ้อาหารที่มีส่วนผสมของไข่และยีสต์ จึงค้นพบผงที่ทำให้เค้กขึ้นฟูดีนั่นเอง
สำหรับประวัติขนมเค้ก เมื่อปี พ.ศ. 2480 ขนมเค้กยังไม่เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไปมากนัก จะมีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับอารยธรรมตะวันตกหรือใกล้ชิดกับชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจ โดยร้านเบเกอรี่ (bakery) ในกรุงเทพฯ มีอยู่ไม่มากนัก ร้านที่เป็นที่รู้จักย่านถนนเจริญกรุงคือร้านมอนโลเฮียงเบเกอรี่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายทำธุรกิจกับต่างประเทศ และการท่องเที่ยวมีการขยายตัวมากขึ้น ทำให้มีความต้องการบริโภค ขนมเค้ก ขนมปัง เพสตรี้ เพื่อบริการแก่ลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ธุรกิจเบเกอรี่ หรือขนมเค้ก ขนมปัง ขนมคุ๊กกี้ จึงขยายตัวและเป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
Cooking, TIPS & TRICK
เรื่องเล่าของขนม: บัว
“บัว” ถือเป็นไม้น้ำที่มากคุณค่า🍃 สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หมดทุกส่วน ตั้งแต่รากถึงดอก🌷 โดยเฉพาะดอกบัว ต้องยกให้เป็นราชินีไม้น้ำ👑 ที่นิยมใช้ในพิธีการทางพุทธศาสนา🙏🙏 รากบัวก็นำมาต้มเป็นน้ำดื่ม แก้อาการร้อนใน🗣 เมล็ดบัวเป็นอาหารทั้งคาวและหวาน ลำต้นของบัวบางชนิดนำมา ต้ม ผัด แกง ส่วนใบก็ใช้ห่ออาหารเรียกว่าข้าวห่อใบบัว☘️
🎋ข้าวห่อใบบัวจุดเริ่มต้นมาจาก 🍚ข้าวห่อใบบัวสดใน นิทานปรัมปราอิง ประวัติศาสตร์ กล่าวถึงที่มาของเมนู ว่าเป็นเมนูที่ทำให้จักรพรรดิผู้ก่อตั้งราชวงศ์เฉินมีกำลังใจในการต่อสู้ จนรบชนะเพื่อป้องกันบ้านเมืองได้🕍 เมื่อชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันหุงข้าวพร้อมกับข้าวที่ตัวเองมีอยู่ ห่อด้วยใบบัวในเมืองงดงาม✨ จึงเป็นที่มาของ “บรรจุภัณฑ์” จากธรรมชาติชั้นเลิศที่ไม่เพียงแต่ทำให้ลำเลียงข้าวห่อได้ง่าย🙌 และยังให้กลิ่นหอมชื่นใจยามรับประทานที่ยามข้าวระอุอยู่ด้านในของใบบัว🍯
การห่อใบบัวจะมีทั้งแบบใบบัวสดและใบบัวแห้ง🍂ขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย🌤 แต่ใบบัวสดจะมีขั้นตอนยุ่งยากตรงที่ใบบัวที่เก็บมาใหม่ๆ ไม่นิยมนำมาทำข้าวห่อทันทีต้องนำไปนึ่งก่อนไม่งั้นจะเสียรสชาติและใบบัวแห้งจะใช้สะดวกกว่า เพราะการนึ่งแล้วจะทำให้เกิดกลิ่นหอมเฉพาะตัว 🌬เพิ่มความหอม เวลารับประทาน🍴 ข้าวห่อใบบัวมีหลายสูตรบางสูตรจะคล้ายบ๊ะจ่างคือผัดเครื่องเข้ากับข้าวก่อนหรือบางสูตรนำไปหุงในหม้อข้าว 🥣ใบบัวมีสรรพคุณในการแก้ร้อนใน เรียกได้ว่ากินได้ทุกฤดูกาล
Cooking, TIPS & TRICK
เรื่องเล่าของขนม: ขนมเทียน+ขนมเข่ง
เมื่อพูดถึงวันตรุษจีน สิ่งที่หลายคนนึกถึงเป็นอันดับแรก ๆ ก็คงจะเป็น 🥧 “ขนมเข่ง ขนมเทียน” 🥮 ที่จะมีขายตามท้องตลาดมากมายในช่วงเทศกาลนี้เท่านั้น และเนื่องในโอกาสที่ใกล้จะถึงวันตรุษจีนนี้เราก็ได้นำประวัติความเป็นมาของขนมเข่งและขนมเทียนมาฝากกันค่ะ 🙂
ความเป็นมาของขนมเข่งที่เป็นที่ร่ำลือก็คือ ในยุคประวัติศาสตร์ของชาวจีนมีความเชื่อว่า 🎎 บรรดาเทพเจ้าจีนที่คอยปกปักรักษามนุษย์ในโลก 🌎 จะต้องขึ้นไปถวายรายงานความดีความชอบ✨ และความชั่วที่มนุษย์ทุกคนได้กระทำกับองค์เง็กเซียนฮ่องเต้บนสวรรค์🛸 ก่อนที่จะถึงวันตรุษจีนประมาณ 4 วัน 📆 เหล่าบรรดาคนที่รู้ว่าตนเองไม่ได้ทำความดีกับเขาสักเท่าไร จึงคิดทำขนมเข่ง หรือที่ชาวจีนแต้จิ๋วเรียกว่า ขนมเหนียนเกา (แปลว่าขนมที่ทำมาจากแป้ง) 🥔🍞 โดยใช้แป้งข้าวเหนียวมากวนกับน้ำตาลทราย และนำไปนึ่งจนมีลักษณะเป็นก้อนแป้งแข็ง ๆ และเหนียวหนืด 🥄จากนั้นก็นำขนมเข่งเหล่านี้ไปถวายให้บรรดาเทพเจ้าจีน 🙏🙏 เพื่อหวังให้ขนมแป้งเหนียว ๆ ช่วยปิดปากเทพเจ้าทั้งหลาย จนกล่าวรายงานความชั่วของตัวเองให้องค์เง็กเซียนฮ่องเต้ฟังไม่ได้ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา🌿
เจ้าขนมเข่งก็กลายเป็นขนมไหว้เจ้าของชาวจีนไปโดยปริยาย🥮
ส่วนขนมเทียนนั้น ก็ถือเป็นเป็นขนมไหว้เจ้าอีกชนิดหนึ่ง มีต้นกำเนิดมาจากการดัดแปลงขนมเข่งเช่นกัน โดยใช้แป้งข้าวเหนียวมากวน 🍯 และใส่ไส้ถั่วบด 🥜 ผสมกับเครื่องปรุง กลายเป็นไส้เค็ม 🍶จากนั้นห่อด้วยใบตองเป็นรูปสามเหลี่ยมเล็ก ๆ 🍙 คล้ายทรงเจดีย์ แล้วนำไปนึ่งจนสุก นอกจากชื่อขนมเทียนแล้ว บางคนก็นิยมเรียกว่า ขนมนมสาว 🐣 ขนมเทียนส่วนใหญ่จะนิยมใช้เป็นขนมในงานบุญวันสงกรานต์ 🌊และชาวจีนก็นำไปใช้ในงานวันตรุษจีนด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่า ขนมไหว้เจ้าในวันตรุษจีนจะเป็นขนมที่ทำจากแป้งกวนกับน้ำตาล 🥯🥄
แล้วนำไปนึ่งเป็นส่วนใหญ่ ✅ซึ่งที่ต้องเป็นขนมแป้งนึ่งก็เนื่องจากว่า ทั้งขนมเทียนและขนมเข่ง ต่างก็มีความหมายเป็นมงคล 🙏 สื่อถึงความหวานชื่น 😍ความราบรื่น และความอุดมสมบูรณ์นั่นเองค่ะ🌳☘️
Cooking, TIPS & TRICK
เรื่องเล่าของขนม: ไข่
🌤เรื่องเล่าของขนม
🥚..
“ไก่” กับ “ไข่” อะไรเกิดก่อน ❓ คิดว่าคงเป็นคำตอบที่ตอบยากใช่ไหม 😁 วันนี้ไม่ได้จะพามาหาคำตอบเรื่องใครเกิดก่อนใครแต่จะมากล่าวถึงคุณประโยชน์ที่มีในไข่กันค่ะหลายๆ 🥚 คนทราบกันอยู่แล้วว่าไข่มีประโยชน์แต่อาจจะไม่ทราบว่าไข่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร🍃
อ่านให้จบเรื่องเล่าของขนมวันนี้แล้วจะทราบว่า ไข่นี้มีดีไฉน🐣
ไข่ที่นิยมรับประทานกันส่วนใหญ่จะเป็นไข่ไก่ 🐥เพราะมีกลิ่นคาวน้อยกว่าไข่ชนิดอื่น✅ไข่นั้นมีคุณค่าทางอาหารอยู่หลายชนิดทั้งโปรตีน🥄 สังกะสี🥄วิตามินเอ🥄 ดี🥢 อี และบี 12🥢 ไข่เป็นอาหารจากธรรมชาติในไม่กี่ชนิดที่มีวิตามินดี✨✨
✔️ประโยชน์ของไข่นอกจากจะทำให้อิ่มและอยู่ท้องนานซึ่งเป็นอาหารอันดับต้นๆ ของสาวๆ ที่กำลังลดน้ำหนักแล้วไข่ยังมีธาตุเหล็กที่ช่วยสร้างเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอีกทั้งช่วยเรื่องการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงให้เป็นไปอย่างปกติ 🧠 ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาทเพราะไข่ 1 ฟองจะมีโคลีนมากถึง 20 % ซึ่งเป็นปริมาณที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน 👼 สำหรับโคลีนเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ในเยื่อหุ้มสมองจึงทำให้สมองและระบบประสาทแข็งแรง💪💪 บำรุงผมและเล็บ💅ใครที่มีปัญหาเรื่องเล็บเปราะหักง่ายควรรับประทานไข่เพราะในไข่มีสารซัลเฟอร์ที่ช่วยบำรุงดูแลสุภาพผมและเล็บได้🥰
🐣ไข่สามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นต้ม ตุ๋น เจียว ทอด 🍳 จะให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนยิ่งขึ้นก็ต้องเติมผักหรือสมุนไพรลงไปปรุงด้วย 🥕🥒
Cooking, TIPS & TRICK
เรื่องเล่าของขนม: ขนมตะโก้
🌤️วันนี้จะพามารู้จักขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าและแป้งถั่วเขียวกวน🍯กับน้ำตาลจนสุก เกริ่นแบบนี้ หลายท่านอาจจะยังสับสน😁 เอ…ขนมอะไรน๊า💭 ขนมถ้วยไหม ขนมกล้วยใช่หรือปล่าวเพราะส่วนผสมคล้ายๆ กัน …เฉลยเลยละกันนะคะ 👉ว่าเป็นขนมตะโก้ 🥄ส่วนใหญ่ที่เราคุ้น และเคยลิ้มรสกันบ่อยๆ จะมีขายอยู่ 2 ชนิด คือตะโก้ถั่วและตะโก้แป้งข้าวเจ้า🌾🌾🌴
🥜ตะโก้ถั่ว รสชาติจะออกหวานมัน ทำด้วยถั่วที่ไม่มีเปลือก บดละเอียด กวนกับน้ำตาลและกะทิจนแห้ง พอปั้นหรือตัดเป็นชิ้นๆ 🔪ได้ มักใส่ถาดสี่เหลี่ยม ⏹️แล้วตัดเป็นชิ้นขนาดประมาณ 5 ซม.
🗨️ส่วนตะโก้ทำจากแป้งข้าวเจ้า มีรสหวาน😋 มันเหมือนกับตะโก้ถั่วแต่เพิ่มรสเค็มเข้า มีลักษณะเป็น 2 ชั้นคือเป็นตัวขนมชั้นหนึ่งและหน้าขนมชั้นหนึ่ง 🍮ตัวตะโก้ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกับน้ำตาลกวนให้สุก ส่วนหน้าทำด้วยกะทิจะผสมแป้งเพียงเล็กน้อยเพื่อให้อยู่ตัวและใส่เกลือพอมีรสเค็มเพื่อให้ได้รสชาติที่กลมกล่อม👍👍👍
ตะโก้บางร้านอาจจะมีใส่เครื่องอย่างอื่นเพิ่มเข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มรสชาติ เช่น ใส่มะพร้าวอ่อน ข้าวโพด เผือกต้มสุก หั่นชิ้นเล็ก ๆ🌴🌽🍠
กลิ่นของตะโก้นิยมใช้น้ำดอกไม้สด🌷💐 หรือลอยดอกมะลิ 🌸หรือน้ำอบด้วยควันเทียน แล้วลอยด้วยดอกมะลิหรือกระดังงา ค้างไว้หนึ่งคืน🌙 หรือถ้าชอบกลิ่นใบเตย ก็นำใบเตย🌱มาโขลกคั้นน้ำผสมลงในตัวตะโก้ค่ะ
ตะโก้นอกจากจะทำด้วยถั่ว🥜และแป้งข้าวเจ้าแล้ว ยังมีที่ทำด้วยวัสถุดิบชนิดอื่นอีก เช่น ตัวตะโก้ทำด้วยมันสำปะหลัง🥔 หรือเผือกบดละเอียด นอกจากนี้ ยังทำด้วย🌽🌽แป้งข้าวโพด คือ นำแป้งข้าวโพดมาใช้แทนแป้งข้าวเจ้า ก็มี
Cooking, TIPS & TRICK
เรื่องเล่าของขนม: ประเพณีลอยกระทง
“วันเพ็ญเดือนสิบสอง🌝 น้ำก็นองเต็มตลิ่ง💦 พวกเราทั้งหลายชายหญิง👫 สนุกกันจริงวันลอยกระทง…” ใกล้เข้ามาทุกทีแล้ว กับประเพณีวันลอยกระทงที่สืบสานกันมาแต่โบราณ สมัยก่อนอย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าเราอาศัย🙌ใช้ประโยชน์จากแหล่งแม่น้ำคงคา เรียกได้ว่าตั้งแต่เริ่มตื่นนอนไปจนเข้านอนเลยก็ว่าได้ 🌛 ทั้งเรื่องการเดินทางสัญจรก็ใช้เรือ 🛶 แพ ล่องลำน้ำ แม่น้ำลำคลองจึงเป็นเส้นทางการสัญจรที่สะดวกที่สุดในสมัยนั้น🛶
เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองช่วงฤดูน้ำหลากเต็มตลิ่ง 🌊หลังงานบุญกฐินจึงได้มีประเพณีลอยกระทงขึ้นเพื่อเป็นการขอขมาเจ้าแม่คงคา🙏 ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงไปในแม่น้ำ และเป็นการแสดงความสำนึกบุญคุณที่ให้เราได้ใช้อาศัยดื่ม กิน บางพื้นที่เช่น ทางภาคเหนือก็มีความเชื่อว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์ 🎑ลอยความทุกข์ ความโศก ลอยโรคภัยไข้เจ็บและสิ่งไม่ดีให้ไหลไปกับสายน้ำ💧
🎆✨ประเพณีลอยกระทงในแต่ละท้องถิ่น ก็จะมีชื่อเรียกในวันลอยกระทงที่แตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ เช่น ภาคเหนือ💁♀️ ก็จะเรียกว่า “งานยี่เป็ง” หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ (ซึ่งนับตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)🌸
ที่เชียงใหม่จะนิยมทำโคมลอย 🕯️เพื่อปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้า เรียกว่า “ลอยโคม”☁️ แม้ปัจจุบันจะมีประกาศห้ามไม่ให้มีการปล่อยโคมเพื่อป้องกันผลกระทบกับเรื่องของเส้นทางการบิน🛩️🚡และเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้แล้ว🔥 แต่ก็ยังเป็นที่นิยมและสนใจของนักท่องเที่ยวอยู่มาก🌿 นอกจากนี้ยังมี การลอย ”กระทงสาย” ที่จังหวัดตาก เป็นการลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย💦☘️ และที่สุโขทัยก็มีประเพณีขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง🔥☄️
ภาคอีสานที่มีชื่อเสียงโด่งดังเห็นจะเป็นการประเพณีการ “ไหลเรือไฟ” ⛵⛵ที่จังหวัดนครพนม และที่จังหวัดสกลนครที่ในอดีตมีการลอยกระทงจากกาบกล้วย ลักษณะคล้ายกับการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียกงานนี้ว่าเทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน 🙏🤲สิบสองเพ็งไทสกล ในส่วนของภาคกลาง เช่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง💥 สี🍬 เสียง🎇 อย่างงดงามตระการตา ทางภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่เช่นกัน ส่วนในจังหวัดอื่นๆ ก็จัดงานวันลอยกระทงทั่วประเทศแต่อาจจะแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น💁♀️
Cooking, TIPS & TRICK
เรื่องเล่าของขนม: ขนมจีบ
ช่วงนี้อากาศเริ่มเย็น ลมหนาวพัดมาตอนเช้าๆ นั่งจิบ🍵น้ำชาร้อนๆ คู่กับอาหารว่าง🍽️ก็จะดีมากเลยค่ะ ว่าแล้วก็นึกถึงอาหารว่างอีกอย่างหนึ่ง เป็นอาหารว่างที่ทานกันได้ ทุกเพศ ทุกวัย ทานแล้วอิ่มท้อง เป็นอาหารว่างที่ห่อด้วยแผ่นเกี้ยว มีไส้อยู่ตรงกลาง ไม่ว่าจะเป็นไส้หมู ไส้กุ้งหรือปูก็จะมีรสชาติหอมละมุนนุ่มอร่อยมีการห่อคล้ายกับดอกไม้บาน🏵️🌸อาหารว่างนี้ก็คือ ขนมจีบ🤤ค่ะ เรามาดูประวัติความเป็นมาของขนมจีบกันเลยค่ะ
ขนมจีบเริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวนโดยบันทึกไว้ว่า ขนมจีบนั้นใช้🍚ข้าวสารนวดเป็นแป้ง ใช้หมู🍖เป็นไส้ ที่ยอดขนมจีบให้ทำเป็นรูปดอกไม้จากที่บันทึกไว้ทำให้เราทราบกันว่าขนมจีบของจีนมีประวัติยาวนานกว่า 700 ปีแล้วโดยขนมจีบนั้นเดิมทีเป็นวัฒนธรรมของเมืองฮูฮอต มองโกเลียใน จากการนำมาขายในร้านน้ำชา🍵บนเส้นทางสายไหมจนได้ชื่อว่า (Shao mai) ที่แปลว่า สินค้าที่ขายเป็นงานอดิเรกเครื่องเคียง หรือ อาหารเรียกน้ำย่อย😋คู่กับชาถูกนำมายังกรุงปักกิ่งและเทียนจินโดยพ่อค้าจากชานซีในช่วงระหว่างราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ขนมจีบเป็นอาหารว่างที่โดยปกติแล้วมักจะทานตอนสายๆ ก่อนเที่ยง แต่ปัจจุบันก็สามารถหารับประทานได้ตลอดเวลา แม้กระทั่งตอนดึก ขณะเดียวกันชาวนาตามชนบทเมื่อทำงานเหนื่อยล้าก็จะแวะพักผ่อนและดื่มน้ำชา🍵ยามบ่ายตามร้านน้ำชาเหล่านี้ ขณะที่ดื่มน้ำชาก็จะต้องมีอาหารกินเล่นเพื่อกินคู่กับน้ำชาบรรดาเจ้าของร้านจึงเริ่มคิดหาอาหารกินเล่นต่างๆ ขึ้นมาจึงเป็นที่มาของติ่มซำในเวลาต่อมา ด้วยความที่เป็นอาหารกินง่ายและรสชาติแปลกใหม่ ขนมจีบจึงกลายเป็นอาหารที่นิยมไปทั่วโลก😋😍
Cooking, TIPS & TRICK
เรื่องเล่าของขนม: มันสำปะหลัง
ลมเย็นๆ 🌬️🌈เริ่มพัดมากลิ่นไอของฤดูหนาวเริ่มชัดเจนมากขึ้น ทำให้นึกถึงสมัยที่ตอนยังเป็น👶👧🏼เด็กอาศัยอยู่ ต่างจังหวัด ที่นั่งล้อมวง🔥ผิงไฟให้ตัวอุ่นบรรเทาอากาศที่หนาวเย็น🧣🧤 พร้อมกับเผาเผือก 🍠เผามันเทศ🥔 มันม่วงด้วยถ่านกลบขี้เถ้าอุ่นๆ พอสุกแล้วแบ่งกันกิน เข้ากับบรรยากาศเหลือเกิน คนส่วนใหญ่เราจะคุ้นเคยกับการเผา มันเทศ มันม่วงแต่มีมันอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาเผาไฟ🔥ทานได้เช่นเดียวกันนั่นคือ👉👉มันสำปะหลัง
มันสำปะหลังเป็นพืชดั้งเดิมของชาวพื้นเมืองในเขตร้อน🌞ของทวีปอเมริกาตอนกลางและทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้ โดยสันนิษฐานไว้ 3 แหล่ง คือ☀️บริเวณอเมริกากลาง ☀️ทางเหนือของอเมริกาใต้☀️ประเทศบราซิล โดยพบว่าชาวพื้นเมืองของประเทศเหล่านี้ปลูกมันสำปะหลัง เพื่อใช้เป็นอาหาร หลักฐานทางโบราณคดีมีการค้นพบเครื่องปั้นดินเผาเป็นรูปหัวมันสำปะหลังที่ประเทศเปรู เครื่องปั้นนี้มีอายุประมาณ 2,500 ปี แสดงว่า มนุษย์เรานั้น รู้จักใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารมานานเกินกว่า 2,500 ปีมาแล้ว
มันสำปะหลังเป็นพืชหัวชนิดหนึ่ง 🍀เป็นพืชอาหารที่สำคัญอันดับ 5 รองจาก ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว และมันฝรั่ง ชาวไทยเดิม จะเรียกกันว่า มันสำโรง มันไม้ และมัน 5 นาที มันสำปะหลัง จะมีลักษณะเปลือกนอกเหมือนเปลือกไม้ มีด้วยกัน 2 ชนิดคือ มันชนิดหวานจะมีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคต่ำ ไม่มีรสขมและสามารถใช้ทำอาหารได้โดยตรง เช่น พันธุ์ห้านาที พันธุ์ระยอง2 และมันชนิดขมมีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคสูงต้องนำไปแปรรูปก่อนถึงจะนำมาปรุงอาหารทาน ส่วนมากจะนำไปแปรรูปเป็นแป้งมันสำปะหลัง และทำผงชูรสเป็นต้น
มันสำปะหลังมีประโยชน์ตั้งแต่หัวมันที่อยู่ใต้ดินไปจนถึงลำต้นและใบอ่อน🍀 ทั้งมีสรรพคุณมากมายอาทิ
💥 ใบอ่อนนำมาต้มให้สุกใช้รับประทานกับน้ำพริก
👍 ช่วยแก้โรคขาดวิตามินบี1
💥 เมล็ดมันสำปะหลังถูกนำมาใช้สกัดเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพดี
👍 ที่สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยา
💥 ส่วนของรากหรือหัวมันสำปะหลังเมื่อนำมาใช้ปรุงเป็นอาหาร
👍 จะสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลได้
💥 ส่วนมากเราจะนำมันสำปะหลังมาปิ้ง และทำขนมเช่น มันเชื่อม ขนมมันที่มีสีสันสวยงามน่าทาน🤤 มีรสชาติหวานมันกลมกล่อม 😋เนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม โรยด้วยมะพร้าว🥥เพิ่มความอร่อยของขนมได้อีก