Cooking, TIPS & TRICK
เรื่องเล่าของขนม: ไข่
เรื่องเล่าของขนม

..
“ไก่” กับ “ไข่” อะไรเกิดก่อน คิดว่าคงเป็นคำตอบที่ตอบยากใช่ไหม
วันนี้ไม่ได้จะพามาหาคำตอบเรื่องใครเกิดก่อนใครแต่จะมากล่าวถึงคุณประโยชน์ที่มีในไข่กันค่ะหลายๆ
คนทราบกันอยู่แล้วว่าไข่มีประโยชน์แต่อาจจะไม่ทราบว่าไข่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร
อ่านให้จบเรื่องเล่าของขนมวันนี้แล้วจะทราบว่า ไข่นี้มีดีไฉน
ไข่ที่นิยมรับประทานกันส่วนใหญ่จะเป็นไข่ไก่ เพราะมีกลิ่นคาวน้อยกว่าไข่ชนิดอื่น
ไข่นั้นมีคุณค่าทางอาหารอยู่หลายชนิดทั้งโปรตีน
สังกะสี
วิตามินเอ
ดี
อี และบี 12
ไข่เป็นอาหารจากธรรมชาติในไม่กี่ชนิดที่มีวิตามินดี
ประโยชน์ของไข่นอกจากจะทำให้อิ่มและอยู่ท้องนานซึ่งเป็นอาหารอันดับต้นๆ ของสาวๆ ที่กำลังลดน้ำหนักแล้วไข่ยังมีธาตุเหล็กที่ช่วยสร้างเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอีกทั้งช่วยเรื่องการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงให้เป็นไปอย่างปกติ
ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาทเพราะไข่ 1 ฟองจะมีโคลีนมากถึง 20 % ซึ่งเป็นปริมาณที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน
สำหรับโคลีนเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ในเยื่อหุ้มสมองจึงทำให้สมองและระบบประสาทแข็งแรง
บำรุงผมและเล็บ
ใครที่มีปัญหาเรื่องเล็บเปราะหักง่ายควรรับประทานไข่เพราะในไข่มีสารซัลเฟอร์ที่ช่วยบำรุงดูแลสุภาพผมและเล็บได้
ไข่สามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นต้ม ตุ๋น เจียว ทอด
จะให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนยิ่งขึ้นก็ต้องเติมผักหรือสมุนไพรลงไปปรุงด้วย
Cooking, TIPS & TRICK
เรื่องเล่าของขนม: ขนมตะโก้

วันนี้จะพามารู้จักขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าและแป้งถั่วเขียวกวน
กับน้ำตาลจนสุก เกริ่นแบบนี้ หลายท่านอาจจะยังสับสน
เอ…ขนมอะไรน๊า
ขนมถ้วยไหม ขนมกล้วยใช่หรือปล่าวเพราะส่วนผสมคล้ายๆ กัน …เฉลยเลยละกันนะคะ
ว่าเป็นขนมตะโก้
ส่วนใหญ่ที่เราคุ้น และเคยลิ้มรสกันบ่อยๆ จะมีขายอยู่ 2 ชนิด คือตะโก้ถั่วและตะโก้แป้งข้าวเจ้า
ตะโก้ถั่ว รสชาติจะออกหวานมัน ทำด้วยถั่วที่ไม่มีเปลือก บดละเอียด กวนกับน้ำตาลและกะทิจนแห้ง พอปั้นหรือตัดเป็นชิ้นๆ
ได้ มักใส่ถาดสี่เหลี่ยม
แล้วตัดเป็นชิ้นขนาดประมาณ 5 ซม.
ส่วนตะโก้ทำจากแป้งข้าวเจ้า มีรสหวาน
มันเหมือนกับตะโก้ถั่วแต่เพิ่มรสเค็มเข้า มีลักษณะเป็น 2 ชั้นคือเป็นตัวขนมชั้นหนึ่งและหน้าขนมชั้นหนึ่ง
ตัวตะโก้ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกับน้ำตาลกวนให้สุก ส่วนหน้าทำด้วยกะทิจะผสมแป้งเพียงเล็กน้อยเพื่อให้อยู่ตัวและใส่เกลือพอมีรสเค็มเพื่อให้ได้รสชาติที่กลมกล่อม
ตะโก้บางร้านอาจจะมีใส่เครื่องอย่างอื่นเพิ่มเข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มรสชาติ เช่น ใส่มะพร้าวอ่อน ข้าวโพด เผือกต้มสุก หั่นชิ้นเล็ก ๆ
กลิ่นของตะโก้นิยมใช้น้ำดอกไม้สด หรือลอยดอกมะลิ
หรือน้ำอบด้วยควันเทียน แล้วลอยด้วยดอกมะลิหรือกระดังงา ค้างไว้หนึ่งคืน
หรือถ้าชอบกลิ่นใบเตย ก็นำใบเตย
มาโขลกคั้นน้ำผสมลงในตัวตะโก้ค่ะ
ตะโก้นอกจากจะทำด้วยถั่วและแป้งข้าวเจ้าแล้ว ยังมีที่ทำด้วยวัสถุดิบชนิดอื่นอีก เช่น ตัวตะโก้ทำด้วยมันสำปะหลัง
หรือเผือกบดละเอียด นอกจากนี้ ยังทำด้วย
แป้งข้าวโพด คือ นำแป้งข้าวโพดมาใช้แทนแป้งข้าวเจ้า ก็มี
Cooking, TIPS & TRICK
เรื่องเล่าของขนม: ประเพณีลอยกระทง

“วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำก็นองเต็มตลิ่ง
พวกเราทั้งหลายชายหญิง
สนุกกันจริงวันลอยกระทง…” ใกล้เข้ามาทุกทีแล้ว กับประเพณีวันลอยกระทงที่สืบสานกันมาแต่โบราณ สมัยก่อนอย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าเราอาศัย
ใช้ประโยชน์จากแหล่งแม่น้ำคงคา เรียกได้ว่าตั้งแต่เริ่มตื่นนอนไปจนเข้านอนเลยก็ว่าได้
ทั้งเรื่องการเดินทางสัญจรก็ใช้เรือ
แพ ล่องลำน้ำ แม่น้ำลำคลองจึงเป็นเส้นทางการสัญจรที่สะดวกที่สุดในสมัยนั้น
เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองช่วงฤดูน้ำหลากเต็มตลิ่ง หลังงานบุญกฐินจึงได้มีประเพณีลอยกระทงขึ้นเพื่อเป็นการขอขมาเจ้าแม่คงคา
ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงไปในแม่น้ำ และเป็นการแสดงความสำนึกบุญคุณที่ให้เราได้ใช้อาศัยดื่ม กิน บางพื้นที่เช่น ทางภาคเหนือก็มีความเชื่อว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์
ลอยความทุกข์ ความโศก ลอยโรคภัยไข้เจ็บและสิ่งไม่ดีให้ไหลไปกับสายน้ำ
ประเพณีลอยกระทงในแต่ละท้องถิ่น ก็จะมีชื่อเรียกในวันลอยกระทงที่แตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ เช่น ภาคเหนือ
ก็จะเรียกว่า “งานยี่เป็ง” หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ (ซึ่งนับตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
ที่เชียงใหม่จะนิยมทำโคมลอย เพื่อปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้า เรียกว่า “ลอยโคม”
แม้ปัจจุบันจะมีประกาศห้ามไม่ให้มีการปล่อยโคมเพื่อป้องกันผลกระทบกับเรื่องของเส้นทางการบิน
และเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้แล้ว
แต่ก็ยังเป็นที่นิยมและสนใจของนักท่องเที่ยวอยู่มาก
นอกจากนี้ยังมี การลอย ”กระทงสาย” ที่จังหวัดตาก เป็นการลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย
และที่สุโขทัยก็มีประเพณีขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
ภาคอีสานที่มีชื่อเสียงโด่งดังเห็นจะเป็นการประเพณีการ “ไหลเรือไฟ” ที่จังหวัดนครพนม และที่จังหวัดสกลนครที่ในอดีตมีการลอยกระทงจากกาบกล้วย ลักษณะคล้ายกับการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียกงานนี้ว่าเทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน
สิบสองเพ็งไทสกล ในส่วนของภาคกลาง เช่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง
สี
เสียง
อย่างงดงามตระการตา ทางภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่เช่นกัน ส่วนในจังหวัดอื่นๆ ก็จัดงานวันลอยกระทงทั่วประเทศแต่อาจจะแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น
Cooking, TIPS & TRICK
เรื่องเล่าของขนม: ขนมจีบ

ช่วงนี้อากาศเริ่มเย็น ลมหนาวพัดมาตอนเช้าๆ นั่งจิบน้ำชาร้อนๆ คู่กับอาหารว่าง
ก็จะดีมากเลยค่ะ ว่าแล้วก็นึกถึงอาหารว่างอีกอย่างหนึ่ง เป็นอาหารว่างที่ทานกันได้ ทุกเพศ ทุกวัย ทานแล้วอิ่มท้อง เป็นอาหารว่างที่ห่อด้วยแผ่นเกี้ยว มีไส้อยู่ตรงกลาง ไม่ว่าจะเป็นไส้หมู ไส้กุ้งหรือปูก็จะมีรสชาติหอมละมุนนุ่มอร่อยมีการห่อคล้ายกับดอกไม้บาน
อาหารว่างนี้ก็คือ ขนมจีบ
ค่ะ เรามาดูประวัติความเป็นมาของขนมจีบกันเลยค่ะ
ขนมจีบเริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวนโดยบันทึกไว้ว่า ขนมจีบนั้นใช้ข้าวสารนวดเป็นแป้ง ใช้หมู
เป็นไส้ ที่ยอดขนมจีบให้ทำเป็นรูปดอกไม้จากที่บันทึกไว้ทำให้เราทราบกันว่าขนมจีบของจีนมีประวัติยาวนานกว่า 700 ปีแล้วโดยขนมจีบนั้นเดิมทีเป็นวัฒนธรรมของเมืองฮูฮอต มองโกเลียใน จากการนำมาขายในร้านน้ำชา
บนเส้นทางสายไหมจนได้ชื่อว่า (Shao mai) ที่แปลว่า สินค้าที่ขายเป็นงานอดิเรกเครื่องเคียง หรือ อาหารเรียกน้ำย่อย
คู่กับชาถูกนำมายังกรุงปักกิ่งและเทียนจินโดยพ่อค้าจากชานซีในช่วงระหว่างราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ขนมจีบเป็นอาหารว่างที่โดยปกติแล้วมักจะทานตอนสายๆ ก่อนเที่ยง แต่ปัจจุบันก็สามารถหารับประทานได้ตลอดเวลา แม้กระทั่งตอนดึก ขณะเดียวกันชาวนาตามชนบทเมื่อทำงานเหนื่อยล้าก็จะแวะพักผ่อนและดื่มน้ำชา
ยามบ่ายตามร้านน้ำชาเหล่านี้ ขณะที่ดื่มน้ำชาก็จะต้องมีอาหารกินเล่นเพื่อกินคู่กับน้ำชาบรรดาเจ้าของร้านจึงเริ่มคิดหาอาหารกินเล่นต่างๆ ขึ้นมาจึงเป็นที่มาของติ่มซำในเวลาต่อมา ด้วยความที่เป็นอาหารกินง่ายและรสชาติแปลกใหม่ ขนมจีบจึงกลายเป็นอาหารที่นิยมไปทั่วโลก
Cooking, TIPS & TRICK
เรื่องเล่าของขนม: มันสำปะหลัง

ลมเย็นๆ เริ่มพัดมากลิ่นไอของฤดูหนาวเริ่มชัดเจนมากขึ้น ทำให้นึกถึงสมัยที่ตอนยังเป็น
เด็กอาศัยอยู่ ต่างจังหวัด ที่นั่งล้อมวง
ผิงไฟให้ตัวอุ่นบรรเทาอากาศที่หนาวเย็น
พร้อมกับเผาเผือก
เผามันเทศ
มันม่วงด้วยถ่านกลบขี้เถ้าอุ่นๆ พอสุกแล้วแบ่งกันกิน เข้ากับบรรยากาศเหลือเกิน คนส่วนใหญ่เราจะคุ้นเคยกับการเผา มันเทศ มันม่วงแต่มีมันอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาเผาไฟ
ทานได้เช่นเดียวกันนั่นคือ
มันสำปะหลัง
มันสำปะหลังเป็นพืชดั้งเดิมของชาวพื้นเมืองในเขตร้อนของทวีปอเมริกาตอนกลางและทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้ โดยสันนิษฐานไว้ 3 แหล่ง คือ
บริเวณอเมริกากลาง
ทางเหนือของอเมริกาใต้
ประเทศบราซิล โดยพบว่าชาวพื้นเมืองของประเทศเหล่านี้ปลูกมันสำปะหลัง เพื่อใช้เป็นอาหาร หลักฐานทางโบราณคดีมีการค้นพบเครื่องปั้นดินเผาเป็นรูปหัวมันสำปะหลังที่ประเทศเปรู เครื่องปั้นนี้มีอายุประมาณ 2,500 ปี แสดงว่า มนุษย์เรานั้น รู้จักใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารมานานเกินกว่า 2,500 ปีมาแล้ว
มันสำปะหลังเป็นพืชหัวชนิดหนึ่ง เป็นพืชอาหารที่สำคัญอันดับ 5 รองจาก ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว และมันฝรั่ง ชาวไทยเดิม จะเรียกกันว่า มันสำโรง มันไม้ และมัน 5 นาที มันสำปะหลัง จะมีลักษณะเปลือกนอกเหมือนเปลือกไม้ มีด้วยกัน 2 ชนิดคือ มันชนิดหวานจะมีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคต่ำ ไม่มีรสขมและสามารถใช้ทำอาหารได้โดยตรง เช่น พันธุ์ห้านาที พันธุ์ระยอง2 และมันชนิดขมมีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคสูงต้องนำไปแปรรูปก่อนถึงจะนำมาปรุงอาหารทาน ส่วนมากจะนำไปแปรรูปเป็นแป้งมันสำปะหลัง และทำผงชูรสเป็นต้น
มันสำปะหลังมีประโยชน์ตั้งแต่หัวมันที่อยู่ใต้ดินไปจนถึงลำต้นและใบอ่อน ทั้งมีสรรพคุณมากมายอาทิ
ใบอ่อนนำมาต้มให้สุกใช้รับประทานกับน้ำพริก
ช่วยแก้โรคขาดวิตามินบี1
เมล็ดมันสำปะหลังถูกนำมาใช้สกัดเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพดี
ที่สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยา
ส่วนของรากหรือหัวมันสำปะหลังเมื่อนำมาใช้ปรุงเป็นอาหาร
จะสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลได้
ส่วนมากเราจะนำมันสำปะหลังมาปิ้ง และทำขนมเช่น มันเชื่อม ขนมมันที่มีสีสันสวยงามน่าทาน
มีรสชาติหวานมันกลมกล่อม
เนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม โรยด้วยมะพร้าว
เพิ่มความอร่อยของขนมได้อีก
Cooking, TIPS & TRICK
เรื่องเล่าของขนม: เห็ดหอม

เห็ดหอม
ในช่วงเทศกาลกินเจ… เราจะเห็นเมนู
อาหารเจต่างๆ ที่มีเห็ดหอมเป็นส่วนประกอบด้วยเกือบทุก
เมนู บางเมนูก็เป็นเห็ดหอมสด
บางเมนูก็เป็นเห็ดหอมแห้ง
ว่าแล้วก็ลองมาดูเรื่องราวของเห็ดหอมกันค่ะว่ามีที่มาเป็นยังไง เพราะส่วนใหญ่ถ้าพูดถึงเห็นหอมทุกคนก็จะ อ้อ…มีภาพเห็ดหอมลอยขึ้นมาทันทีค่ะ แล้วมีใครทราบไหมคะว่าต้นกำเนิดมาจากแหล่งไหนที่ใด
เห็ดหอมหรือเห็ดชิตาเกะ (ในภาษาญี่ปุ่น) ชื่อเห็ดนี้มีที่มาจากกลิ่นของเห็ดที่มีกลิ่นหอม
มากกว่าเห็ดชนิดอื่นซึ่งไม่ค่อยมีกลิ่นเท่าใดนัก เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเห็ดรา มีถิ่นกำเนิด
ในประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไต้หวัน ที่มีการเพาะกันอย่างแพร่หลายที่สุดคือประเทศจีน
ส่วนญี่ปุ่น
จัดว่าเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยี
ในการเพาะเห็ดหอมสูงมากจนสามารถผลิตเห็ดหอมจำหน่ายเป็นสินค้าขาออกเป็นอันดับ 1
ของโลก
เห็ดหอมขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ
หรือสามารถ
ปลูกได้ตลอดปี แต่จะให้ผลผลิตดีในช่วงฤดูหนาว
ของไทย
️️️เราส่วนใหญ่จะปลูกมากภาคเหนือจะเป็นในแถบจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน หากเป็นภาคอีสานก็จะเห็นมากในจังหวัดเลยและสกลนคร ส่วนใหญ่จะนิยมมาประกอบอาหาร โดยเฉพาะอาหารจีน
และอาหารญี่ปุ่น
เห็ดหอมยังสามารถนำมาตากแดด
หรือตาก
ลมให้แห้ง เพื่อทำเป็นเห็ดหอมแห้งเก็บไว้ใช้ในการประกอบอาหารได้นานอีกด้วย
เห็ดหอมมีประโยชน์ต่อสุขภาพเยอะมาก เช่น
ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก
ป้องกันโรคเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคร้ายจากเชื้อไวรัส
เห็ดหอมมีกรด Eritadenine ช่วยให้ไตย่อยคอเลสเตอรอลได้ดี
ต้านมะเร็งด้วย
การรับประทานเห็ดหอมเป็นประจำ จะช่วยให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วยนะคะ
เห็ดหอมสามารถนำมาทำเมนูทั้งสูตรอาหารเจ
หรืออาหารทั่วไป
ได้หลากหลายใช้ได้
ทั้งเห็ดหอมแห้ง และเห็ดหอมสดค่ะ เช่น
เกี๊ยวน้ำไส้เห็ดหอม
กะหล่ำปลีทอดซีอิ๊วเห็ดหอม
เห็ดสามเกลออบวุ้นเส้น
บะหมี่แห้งราดซอสกระดูกหมูเห็ดหอม
ปีกเป็ดตุ๋นเห็ดหอม ฯลฯ
ว่าแล้วเราไปซื้อเห็ดหอม มาทำอาหารรับประทานกันดีกว่าค่ะ ไม่ว่าจะทำแกงจืด ผัด ต้ม ตุ๋น นึ่ง หรืออบ ก็ได้ค่ะ…..

ว่าถึงเรื่องอาหารไทยประเภทเเกงนั้นมีหลายประเภทแต่เราจะพามารู้ถึงประวัติของแกงที่มีเครื่องเทศ ใส่เข้าไปในเครื่องแกงด้วย นั่นก็คือ
แกงพะแนง
พะแนง เป็นอาหารไทยที่ประกอบไปด้วยส่วนผสมหลักของเครื่องเทศ คือ พริก ข่า ตะไคร้ รากผักชี เม็ดผักชี เม็ดยี่หร่า กระเทียม อบเชย และเกลือ พะแนงเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย
และอาจมีวัฒนธรรมการกินแบบเขมรผสมด้วยหรือไม่ ไม่อาจยืนยันได้แต่มีการใช้ภาษาเขมร ที่เดิมใช้สำหรับการอธิบายท่าเอาขาไขว้ หรือขัดกัน ที่เรียกว่านั่งขัดสมาธิ
หรือขัดตะหมาด ที่คนไทยใช้ในภาษาพูดจริงๆ แล้ว พะแนง แปลว่าท่านั่งแบบขัดสมาธิ ใช้อธิบายคำในภาษาไทยตั้งแต่ต้น หรือก่อนอยุธยา คือ พระพะแนงเชิง คือ นั่งขัดสมาธิซ้อนกัน มีทั้งพะแนง และเชิง ซึ่งมีที่มาจากภาษาเขมร และกร่อนเสียงเป็นพระพนัญเชิง ในเวลาต่อมา ไก่พะแนง จึงเป็นการนำไก่
ทั้งตัว มาขัดขากัน และทำในหม้อใบใหญ่ ใช้เครื่องแกงแขก แบบแกงมุสลิม และเรียกว่าไก่พะแนง คั่วไปจนน้ำ
ขลุกขลิก เหมือนอาหารอินเดียมุสลิมอื่นๆ
ใช้เครื่องเทศเฉพาะ ส่วนมากเราจะเห็นตามร้านอาหารจะมี พะแนงไก่
พะแนงหมู
พะแนงเนื้อ
กันซะส่วนใหญ่
Cr.Photo by Agnieszka Kowalczyk on Unsplash
Cooking, TIPS & TRICK
เรื่องเล่าของขนม: พริกแกง

ว่าถึงเรื่องความเผ็ดความแซ่บจร้า
นั่นก็คือพริกแกงหรือเครื่องแกง
พริกแกงต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียและแม็กซิโกค่ะ บางท่านอาจยังไม่เคยรู้นะค่ะว่าพริกแกงมีที่มาจากไหน มีส่วนผสมอะไรบ้าง เพราะปัจจุบันก็จะมีพริกแกงที่สำเร็จรูปซะส่วนมาก แต่ไทยเราก็ได้พัฒนาสูตรและรสชาติจนเป็นที่รู้จักกันในนามเครื่องแกงค่ะ โดยการเพิ่มสมุนไพรเข้าไปเช่น ตะไคร้ ข่า มะกรูด และกะปิ
รู้ไหมค่ะว่าพริกแกงเป็นวัตถุดิบสำคัญมากอย่างหนึ่งในการประกอบอาหารไทย ซึ่งนำไปปรุงอาหารได้มากมายหลายประเภทเช่น แกง ผัด นึ่งและอื่นๆ พริกแกงที่ใช้กันเป็นประจำส่วนมากในการประกอบอาหารก็จะเป็น พริกแกงเขียวหวาน พริกแกงคั่ว พริกแกงเผ็ด พริกแกงห่อหมก เป็นต้น นอกจากจะเพิ่มรสชาติของอาหารแล้วพริกแกงยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย
เช่นให้กากใยอาหาร ให้วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ทั้งได้สมุนไพรที่ช่วยป้องกัน หรือรักษาโรคได้อีกด้วยค่ะ
Cooking, TIPS & TRICK
เรื่องเล่าของขนม: ใบตอง

ฝนตกพรำๆ และกลิ่นไอดินแบบนี้ ทำให้นึกถึงหยดฝนที่กลิ้งบนใบตองสีเขียวสดใส ความสนุกของม้าก้านกล้วยที่เคยวิ่งเล่นกับเพื่อนในวัยเด็ก แบบที่ไม่ต้องกลัวว่าจะคลุกฝุ่นแค่ไหน ทำให้ย้อนนึกถึงเวลาที่ยืนอยู่หน้าเตารอข้าวเหนียวปิ้งไส้กล้วย พอผ่านร้านขนมในตลาด ก็ร้องให้แม่ซื้อขนมตาลสีเหลืองสด ขนมใส่ไส้ หรือข้าวต้มมัดที่มักจะพกไปเวลาที่ออกเดินทางไกล
จะว่าไปแล้ว ‘ใบตอง’ หรือ ‘ตองกล้วย’ ที่มีแผ่นใบขนาดใหญ่ ปลายมนสีเขียว ลักษณะฉีกขาดได้ง่ายจากลมนี้ ก็มีส่วนร่วมในวัฒนธรรมไทยหลายด้าน ทั้งในด้านอาหารและพิธีกรรมต่างๆ เพราะด้วยใบตองสดมีความชื้น และทนทานต่อความร้อนความเย็น จึงถูกใช้เพื่อถนอมอาหาร ห่อผักสด เพื่อช่วยให้อาหารหรือผักมีความสดอยู่เสมอ อีกทั้งยังนำมาห่ออาหารเพื่อปิ้ง นึ่ง ต้ม ได้ทั้งความปลอดภัยและความความหอมของใบกล้วยให้น่ารับประทาน และด้วยมีความสวยงามเอกลักษณ์แบบไทยๆ ใบตองจึงถูกนำมาใช้ในการจัดเตรียมเครื่องประกอบพิธี ทำบายศรีในงานพิธีมงคลต่างๆ
ในปัจจุบันนี้ ใบตองยังถูกรณรงค์กลับมาใช้เพื่อเป็นวัสดุทำกระทง ในวันลอยกระทง หรือภาชนะเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมทดแทนการใช้พลาสติก ดังไปถึงเมืองนอก เป็นสินค้าโกอินเตอร์นะเจ้าคะ ว่าแล้ว ก็ขอตัวไปพับกระทงใส่ขนมกล้วยก่อนนะคะ นึกถึงก็หิวเลยค่ะ
Cooking, TIPS & TRICK
เรื่องเล่าของขนม: ขนมถ้วย

เรื่องเล่าของขนม
สวัสดีแฟนคลับเอลวิร่าทุกท่านค่ะ
วันนี้เรื่องเล่าของขนมจะมาพูดถึงขนมไทยโบราณกันบ้างจ้า
ขนมไทย
เป็นของหวานที่นิยมทำ
และรับประทานกันในประเทศไทย ซึ่งสะท้อนถึงเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติ โดยแสดงถึงความละเอียดอ่อน ความพิถีพิถัน และเป็นของหวานที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านาน ในสมัยก่อนนั้นขนมไทยจะทำเฉพาะเวลามีงานเท่านั้นค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นในงานเทศกาล งานประเพณี และงานทางศาสนาต่างๆ แต่ที่เห็นมีขนมหลากหลาย
และรับประทานหลังอาหารคาว หรือ ทานเป็นของว่าง ก็ล้วนแต่คิดประดิดประดอยขึ้นภายหลังทั้งสิ้น รวมถึงขนมของต่างชาติ ที่เข้ามาโดยผ่านความสัมพันธ์ทางการเมืองก็ถูกดัดแปลงให้มีรูปทรง รสชาติ ลักษณะเป็นแบบไทย ๆ จนมาถึงปัจจุบันค่ะ
เรื่องเล่าของขนมจะขอพูดถึงเรื่องของ “ขนมถ้วยตะไล” หรือ ที่เรียกกันว่า “ขนมถ้วย” ขนมถ้วยถือเป็นขนมไทยโบราณอีกชนิดหนึ่งที่หารับประทานได้ไม่ยากนัก เพราะมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยาก วัตถุดิบก็หาได้ง่าย คือ แป้งข้าวจ้าว น้ำตาลมะพร้าว หรือน้ำตาลโตนด กะทิ เกลือ
โดยมีวิธีการ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกการทำตัวขนม และขั้นตอนที่สองเป็นการทำหน้าขนมถ้วย
โดยใช้แป้งข้าวจ้าวผสมกะทิ และเกลือ ชิมรสมันเค็มนำไปหยอดหน้าขนมถ้วยที่นึ่งส่วนตัวไว้แล้ว นำไปนึ่งให้สุก ขนมถ้วยตะไล ที่อร่อยนั้น ตัวขนมจะมีรสหวานหอมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนด เนื้อขนมไม่แข็งกระด้าง ส่วนหน้าขนมต้องมีรสมันด้วยกะทิและมีรสเค็มนิดหน่อย ทำให้รสชาติเข้ากันอย่างลงตัว จนเป็นอีกหนึ่งเมนูในขนมไทยที่นิยมกันอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนั้นเองค่ะ