Cooking, TIPS & TRICK
ทำบุญตักบาตรอย่างไรให้ได้บุญ
ทำบุญใส่บาตร อย่างไรให้ได้บุญ
เข้าพรรษาแล้ว เห็นชาวพุทธเข้าวัดทำบุญใส่บาตรกันอย่างคึกคัก ก็รู้สึกปลื้มจิต ปลื้มใจกันไม่น้อยทีเดียว วันนี้ ELVIRA ได้รวบรวมข้อมูลที่ถือว่าเป็นประโยชน์และได้บุ๊น ได้บุญมาให้แฟนๆ สายบุญได้อ่านกันจ้า
ปัจจุบัน มากกว่า 50% ของพระในกรุงเทพฯ และเขตเมืองมีความเสี่ยงต่อโรคอ้วน สูงกว่าชายในกรุงเทพ (39%) และชายทั่วประเทศ (28%) ปัจจัยที่ทำให้พระสงฆ์มีปัญญาด้านสุขภาพมากขึ้นก็เพราะอาหารที่บรรดาญาติโยมทั้งหลายนำมาใส่บาตร ทั้งของคาวของหวานรสอร่อยแต่กลับพ่วงโรคร้าย ไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด ฯลฯ ดังนั้นเราควรพิถีพิถันตั้งแต่การปรุงอาหาร
วิธีการปรุงควรปรุงแบบ นึ่ง ยำ ย่าง เผา อ่อม หมก แทนการผัด และทอด ควรลดหวาน มัน เค็ม และกะทิ น้ำปานะ ควรลดความหวาน เน้นเพิ่มโปรตีน เช่น นมถั่วเหลือง นมจืดชนิดไขมันต่ำ โยเกิร์ตแบบหวานน้อย
ประเภทอาหารที่จะถวาย ควรเลือกโดยเฉพาะกลุ่มเหล่านี้
- กลุ่มโปรตีนโดยเฉพาะเมนูปลา (ให้โปรตีนและไขมันดี)
- กลุ่มธัญพืช ข้าวประเภทต่างๆ เช่น ข้าวกล้อง, ข้าวซ้อมมือ ฯลฯ โฮลวีท งาดำ ลูกเดือย เห็ด และพืชตระกูลถั่ว เพราะให้เส้นใยอาหารครบ 5 หมู่, วิตามินบีและอี ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ลดความดันโลหิต, ป้องกันมะเร็งในลำไส้ใหญ่ ฯลฯ
- กลุ่มแร่ธาตุ อาทิ ตำลึง คะน้า ใบขึ้นฉ่าย กุยช่าย นมสด ไข่ เนื้อสัตว์ เครื่องใน ฯลฯ ซึ่งช่วยป้องกันโรคมะเร็ง, โรคหัวใจ, ไขมันอุดตันในเส้นเลือด, ลดคอเลสเตอรอล และมีธาตุเหล็ก ป้องกันโรคโลหิตจาง
- กลุ่มผักผลไม้ ควรเลือกซื้อเป็นผักพื้นบ้านและผักตามฤดูกาล เพราะจะได้ผักที่สด และราคาถูก เพราะผักและผลไม้แต่ละชนิดมีคุณประโยชน์ต่างกันไป อาทิ กระเทียม ช่วยลดคอเลสเตอรอล และความดัน, ขิงข่า ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ทำบุญตักบาตรครั้งต่อไป ก็อย่าลืมเพิ่มความใส่ใจสุขภาพของพระสงฆ์กันให้ด้วยนะค่ะ คนใส่บาตรก็ได้อิ่มใจ พระท่านก็ได้สุขภาพที่ดี
ข้อมูลจาก : นพ.ประดับ สุขุม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ, Club Sanook.com, www.thaihealth.or.th
Facebook : Elvirathai
Twitter : Elvirathai
Comments are closed