TIPS & TRICK
งีบหลับแบบไหนให้ได้ผลดี
งีบแบบไหนให้ได้ผลดี
การงีบหลับใครว่าไม่มีประโยชน์ แม้การงีบหลับเพียง ไม่กี่นาที ก็มีผลต่อการทำงานของ สมองนะจ๊ะ มาดูกันว่า การงีบหลับ แต่ละช่วง มีผล ดี หรือไม่ดี
ต่อการทำงานของสมอง อย่างไร
- การงีบหลับ 5-10 นาที
สามารถสร้างความรู้สึกตื่นตัวและเพิ่มความสามารถทางปัญญา เมื่อเทียบกับการไม่ได้งีบ หลับเลย ถ้าคุณกำลังหาวิธีเพิ่มพลังอย่างรวดเร็ว
ควรงีบหลับประมาณ 5-20 นาที
- การงีบหลับ 10-20 นาที
นี่เป็นระยะเวลานอนที่เพิ่มพลังงานและความสดชื่นเหมาะสำหรับคนที่ต้องการจะตื่นขึ้นมา แล้วกระปรี้กระเปร่า ตื่นตัวกระฉับกระเฉง กระตุ้นสมองได้ดี
หรือลุกขึ้นมาทำโน่นทำนี่ได้ อย่างคล่องแคล่วไม่ค่อยมีอาการสะลึมสะลือเท่าไหร่นัก
- การงีบหลับ 30 นาที
จะทำให้สดชื่น และมีพลังวังชา
- การงีบหลับ 60 นาที
จะส่งผลดีต่อการจำ เพราะว่ามันเป็นการนอนที่ทำให้เราอยู่ในช่วง slow-wave sleep ซึ่งเป็น ช่วงการหลับที่ลึกที่สุด แต่ผลข้างเคียงของมันก็คือ
ตื่นมาจะมึนๆ งงๆ เบลอๆ ทำให้ง่วง มากกว่าเดิม
การงีบหลับ 90 นาที
- การงีบหลับ 90 นาที
เป็นระยะเวลาการนอนที่ครบรอบสมบูรณ์ คิดง่ายๆ ก็คือ เวลาเรานอนมันก็เหมือนนาฬิกา พอครบ 90 นาทีปุ๊บ นี่ก็คือ 1 รอบสมบูรณ์
ซึ่งมันจะมีทั้งการนอนแบบหลับลึก กับหลับสบายๆ ไม่ลึกนัก รวมทั้ง REM stage (Rapid Eye movement) ด้วย
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเราก็จะฝันในช่วงนี้ การนอนในระยะเวลานี้จะช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น ความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ จะแล่นเข้ามาได้ดีขึ้น
และที่สำคัญช่วยทำให้เราจำได้ดีขึ้น จินตนาการสร้างสรรค์ทำงานได้เต็มที่ การนอนแบบนี้ พอตื่นขึ้นมาก็จะกระปรี้กระเปร่า ไม่งัวเงียจ้า
แต่สำหรับคนทำงาน……เวลางาน หากงีบนาน ขนาดนี้!! มีหวังโดนเจ้านายบ่นแน่เลย ดังนั้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับคนทำงาน
คือ ไม่ควรงีบหลับในเวลากลางวันเกินกว่า 30 นาที มิฉะนั้นจะเข้าสู่การหลับลึก และได้มีข้อมูลว่า เวลาที่ดีที่สุดในการงีบหลับคือช่วง
12.00-16.00 น. ควรงีบประมาณ 20 นาที และหลังจากการงีบ ควรให้เวลาตัวเอง 10-15 นาที ล้างหน้า
ดื่มน้ำเย็นๆ เพื่อให้สดชื่น ตื่นเต็มตา ก่อนปฏิบัติภารกิจการทำงานอย่างสดชื่นต่อไปจ้า….*.*
Facebook : Elvirathai
Twitter : Elvirathai
Comments are closed